ประวัติ สวท.บึงกาฬ
 
 
 
 

 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดบึงกาฬ

    

ประวัติ สวท.บึงกาฬ

                    สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬ เริ่มก่อตั้งตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว และนายพินิจ จารุสมบัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต2 จังหวัดหนองคาย ในขณะนั้น ได้จัดสรรเงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดปี 2537 จำนวน 10,000,000.-บาท และเงินรายได้สมทบจำนวน 3,087,658.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13,087,658.- บาท โดยทางตาบลวิศิษฐ์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มอบที่ดินสาธารณประโยชน์จำนวน 20 ไร่ ให้เป็นที่ตั้งสถานีฯ โดยอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 และเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2537 ตามสัญญาเลขที่ 687/37/2537 และให้สามารถออกอากาศได้ภายในวันที่ 28 เมษายน 2538 สถานวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬ ตั้งอยู่เลขที่ 84 หมู่ที่ 10 บ้านแสนสุขถนนหนองคาย-บึงกาฬ ตาบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านข่าวสารของประชาชนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และเขตพื้นที่ใกล้เคียงให้สามารถรับฟังสื่อวิทยุได้อย่างชัดเจน ปราศจากการรบกวน และเป็นการป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิดของประชาชนในท้องที่ห่างไกลชายแดนต่อการดำเนินงานการพัฒนาประเทศชาติ ของรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพทางเทคนิคของสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐให้เข้าถึงประชาชนในท้องที่ที่รับฟังไม่ชัดเจน นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์ของรัฐสู่ประชาชนโดยเฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารในการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ และรายได้ การส่งเสริมการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร ส่งเสริมการศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาจริยธรรมและการศาสนา ด้วยเหตุนี้ กรมประชาสัมพันธ์ จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬ โดยออกอากาศในระบบเอฟเอ็ม.ความถี่ 104.25 MHz กำลังส่ง 1 Kw. ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย และเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 นอกจากนั้นยังได้รับงบประมาณในการจัดตั้งเครื่องส่งระบบเอเอ็ม . ความถี่ 927 KHz กำลังส่ง 10 Kw. ซึ่งปัจจุบันระบบ เอ เอ็ม  ได้ยุติการออกอากาศไปแล้ว

การบริหารจัดการสถานี

              สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬ จัดผังรายการหลักโดยเน้นรายการที่เป็นข่าวสารสาระ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและท้องถิ่น มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗0 ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการปกครองในระบบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การส่งเสริมการศึกษา จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม การที่ให้ความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิต ด้านเด็ก เยาวชน รวมถึงเนื้อหาที่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์กรมประชาสัมพันธ์ นโยบายจังหวัด กลุ่มจังหวัด

ด้านการผลิตรายการและข่าว
            สถานีวิยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬ ผลิตรายการและข่าว เผยแพร่ข้อมลู ข่าวสารสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือท้องถิ่น ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยววกับเศรษฐกิจ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ชนเผ่า การท่องเที่ยว และการพัฒนาสังคม ให้ตรงตามกับกลุ่ม เป้าหมายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ และนำไปสู่การพัฒนาจังหวัด และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ด้านธุรการ
            สนับสนุนและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกในการบริหารจัดการให้เป็นตามกฏระเบียบเพื่อก้าวเข้าสู่ระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์

การเงินบัญชี พัสดุ อาคาร สถานที่
            ดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบระเบียบการเงินพัสดุเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ด้านเทคนิค
            สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬ ส่งกระจายเสียงเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 8 อำเภอ ของจังหวัดบึงกาฬ ออกอากาศด้วยระบบเอ็ฟ.เอ็ม ความถี่ 104.25 MHz. กาลังส่ง 1 กิโลวัตต์ สายอากาศแบบ เขาควาย จานวน 8 Stac เสาอากาศแบบGUYED MAST สูง 120 เมตร 
             เขตบริการ ครอบคลุมพื้นที่  53 ตำบล  8 อำเภอ ของจังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วย อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอศรีวิไล อำเภอบุ่งคล้า อำเภอโซ่พิสัย อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอพรเจริญ นอกจากนั้นยังครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนมบางส่วนของอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย บางส่วนของอำเภอสังคม จังหวัดสกลนคร และพื้นที่บางส่วนของแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว

รายนามผู้บริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬ

1.นายเวียรชัย  พรหมสาขา ณ สกลนคร   พ.ศ.2538-2539

2.นายทรัพย์ อรรคนิตย์                       พ.ศ.2540-2541

3.นายยศ มาคเชนทร์                          พ.ศ.2542-2543

4.นายบัญชา สุขแสน                          พ.ศ.2543-2544

5.นายรังสรรค์ ขำแจง                         พ.ศ.2544-2546

6.นางวลัย จิตรสมุทร                         พ.ศ.2546-2549

7.นายประเสริฐ สหะรัตน์                     พ.ศ.2549-2550

8.นายกิจจา วิชาชัย                            พ.ศ.2550-2554

9.นายเกรียงศักดิ์ ถวายชัย                    พ.ศ.2554-2558

10.นายศรชัย   ศรีสถาน                      พ.ศ.2558-2559

11.นายประมุข ไทยเสถียร                   พ.ศ.2559-2562

12.นายธีรยุทธ ดวงมณี                       พ.ศ.2562-2564

13. นายขวัญประชา  ระเริง                 พ.ศ. 2564 - 2566

14. นายอนุชิต  บุญชม                   พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

................................................


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar